2222 Views |
ครั้งแรกของโลกที่นักวิจัยของไทย นำโดยว่าที่ร้อยตรี ดร.ฉัตรมงคล สุวรรณภูมิ อ.สาขาการประมง คณะเกษตรศาสตร์และทรั พยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ค้นพบ “กบหัวโตหลงชวน (Longchuan big-headed frog) ซึ่งเป็นกบสายพันธุ์ใหม่ ที่มีความแตกต่างทั้งลักษณะทางสัณฐานวิทยาและทางพันธุกรรม สำหรับแหล่งที่อยู่อาศัย ทางคณะวิจัยได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างได้ จากลำห้วยในป่าเขตเมืองหลงชวน อยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลยูนาน ประเทศจีน โดยการกระจายพันธุ์ สามารถพบในตะวันตกของมณฑลยูนาน ประเทศจีน และชายแดนระหว่างประเทศจีนและประเทศพม่า
ดร.ฉัตรมงคล กล่าวว่าลักษณะของกบหัวโตหลงชวน เป็นการทำงานวิจัยร่วมกันของนักวิจัยประเทศไทยและนักวิจัยจาก Kunming Institute of Zoology (CAS) ประเทศจีน ซึ่งเป็นการจำแนกตามลักษณะพันธุกรรมและเสียงของกบ ที่แสดงถึงความแตกต่างของกบแต่ละชนิด หากดูด้วยตาเปล่าอาจจะมองว่าเหมือนกบในสกุล Limnonectes ทั่วๆไป แต่ด้วยลักษณะทางพันธุกรรมที่โดดเด่น ซึ่งเป็นความพิเศษและบ่งบอกว่ากบดังกล่าว เป็นชนิดใหม่และครั้งแรกที่มีการค้นพบ
อย่างไรก็ตาม การค้นพบดังกล่าว มีส่วนสำคัญในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกบ ที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงทางเศรษฐกิจของประเทศ
“กบหัวโตหลงชวน ค้นพบในประเทศจีน แต่กบที่ค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย ได้แก่ กบหนองเล็กเชียงใหม่ (Chiang Mai Rain-Pool Frog) เป็นกบที่มีความแตกต่างกับกบชนิดอื่นๆในสกุล Fejervarya ทั้งลักษณะทางสัณฐานวิทยา พันธุกรรม และ เสียงร้อง สำหรับแหล่งที่อยู่อาศัย ของกบชนิดนี้ในหนองน้ำหรือพื้นที่ทำเกษตรกรรม ในปัจจุบันเราพบการกระจายพันธุ์ เฉพาะ บ้านม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น ซึ่งกบชนิดนี้แม้จะยังไม่มี การศึกษาทางด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจเท่าที่ควร แต่มีคุณค่าต่อแวดวงการศึกษาอย่างมาก เพราะสามารถนำไปสู่การเรียนรู้ ทางทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรได้”
ปัจจุบัน “กบหัวโตหลงชวน และกบหนองเล็กเชียงใหม่” เป็นกบที่ชาวบ้านท้องถิ่นใช้รับประทาน และดูลักษณะภายนอกเหมือนกบชนิดทั่วไป แต่ด้วยลักษณะเสียงร้องและพันธุกรรม สามารถแยกชนิดได้ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ มีชนิดที่ลักษณะภายนอกที่มี ความคลุมเครือ (Cryptic species) ต้องใช้ลักษณะอื่นในการจำแนก
ว่าที่ร้อยตรี ดร.ฉัตรมงคล กล่าวต่อไปว่ากบ 2 สายพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันยังไม่ได้ศึกษาเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพราะยังไม่ได้มีการเพาะเลี้ยง แต่ชุมชนสามารถใช้ในการบริโภคเป็นแหล่งโปรตีนในท้องถิ่น ซึ่งสิ่งที่ต้องทำโดยเฉพาะในส่วนของกบหนองเล็กเชียงใหม่ พบแถวหนองน้ำ และพบในบริเวณฟาร์มต่างๆ อาจจะได้รับสารพิษจาก สารเคมี และยาฆ่าแมลง ที่เกิดจากกิจกรรมของชาวบ้านในชุมชนซึ่งมีความเสี่ยงอย่ างมากต่อการสูญพันธุ์ของกบสายพันธุ์นี้ในประเทศไทย ดังนั้น ต้องให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับกบสายพันธุ์นี้ในแง่มุมของการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการอนุรักษ์ต่อไปเช่นกัน
“กบ 2 สายพันธุ์ใหม่ครั้งแรกของโลก แม้จะยังไม่มีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ถือเป็นองค์ความรู้ด้านการศึกษา ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมที่บ่งบอกถึงความอุดมศึกษาของประเทศ รวมถึงยังทำให้ได้มีศึกษาพันธุกรรมสัตว์ใหม่ๆอีกด้วย ซึ่งการค้นพบเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทย งานวิจัยของไทย รวมถึงพัฒนาเป็นแหล่งโปรตีนต่อยอดไปสู่การเกษตร และการส่งเสริมรายได้ อาชีพให้แก่คนไทย อย่างไรก็ตาม งานวิจัยครั้งนี้ ได้มีการลงวารสารของ วารสาร Zootaxa “Taxonomic revision of the ChineseLimnonectes (Anura, Dicroglossidae) with the description of a new species from China and Myanmar” และ Zoological Research “A new species of genus Fejervarya (Anura: Dicroglossidae) from northern Thailand” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว” ต้องปรบมือดังๆ ให้แก่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยาที่ได้ค้นพบ กบ 2 สายพันธุ์ใหม่ ครั้งแรกของโลก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก
แหล่งที่มา :: http://www.banmuang.co.th/news/education/84517