Development of Research and Academic Services through the Participation of Agricultural Technology Students under the Project for Producing Artificial Pollen Supplements for Honey Bees: A Research Project Supported by NRCT 2024 Dr. Khan Chai Dunmek

533 Views  | 

Development of Research and Academic Services through the Participation of Agricultural Technology Students under the Project for Producing Artificial Pollen Supplements for Honey Bees: A Research Project Supported by NRCT 2024  Dr. Khan Chai Dunmek

Development of Research and Academic Services through the Participation of Agricultural Technology Students under the Project for Producing Artificial Pollen Supplements for Honey Bees: A Research Project Supported by NRCT 2024

Dr. Khan Chai Dunmek
Lecturer, Agricultural Technology Program

The "Artificial Pollen Supplements for Honey Bees" project is supported by the National Research Council of Thailand (NRCT) for the year 2024. The project aims to develop feed formulations that promote sustainable honey bee farming and reduce reliance on natural food sources. Integrating research with teaching, the initiative enhances knowledge and practical skills for undergraduate students in the Agricultural Technology program, Faculty of Agriculture and Natural Resources, University of Phayao. This program emphasizes multidisciplinary education covering diverse fields. Moreover, the project incorporates expertise from international researchers, enabling students to advance their knowledge to higher levels and focus on practical applications in communities. The academic services are primarily provided in Phayao, Phrae, and Chiang Mai provinces, in collaboration with Chiang Mai University and the Department of Livestock Development's Animal Feed Development Bureau.

Allowing students to participate in activities with local farmers enhances their practical skills and experience in collaborating with community organizations. This aligns with the program’s learning outcomes (Program Learning Outcome, PLO), focusing on integrating classroom knowledge with research that addresses local needs. Additionally, the project is being developed internationally, with students gaining opportunities to enhance their skills and experiences abroad. For example, Mr. Chindonai Chanmaneewech, a third-year student, participated in a short-term research program at National Chung Hsing University, Taiwan, for one month (October 2023). Furthermore, research outputs will be presented at the 40th Annual Meeting of the Apicultural Society of Korea (February 2024), fostering a positive attitude towards learning and academic excellence as part of the program's Expected Learning Outcomes (ELOs).

This initiative has already yielded significant results. For instance, two second-year students, Ms. Vorakamon Ruealom and Ms. Natthaporn Koktrakun, have co-authored research papers currently under review for publication in international journals (SCOPUS Q2 and Q3) in 2024. Additionally, one utility patent application has been submitted. Another student, Mr. Chokwiwat Singharit, a third-year student and team leader, has further developed the advisor’s research to formulate a low-cost feed priced at an average of 80 THB per kilogram. The feed contains no less than 10% protein, 30% sugar, and 5% fat. This feed has proven effective in supporting honey bee colonies during periods of food scarcity, reducing the cost of commercial supplements by 24.87%. The innovation was awarded a silver medal at the Thailand Research Expo 2024.

In conclusion, the development of research and academic services through student participation in this project demonstrates the program's comprehensive success in both academic and practical dimensions. It establishes a solid foundation for cultivating high-quality students prepared to contribute as competent professionals in the advancement of agriculture and natural resources in Thailand.

การพัฒนางานวิจัยและการให้บริการวิชาการผ่านการมีส่วนร่วมของนิสิตสาขาเทคโนโลยีการเกษตร ภายใต้โครงการผลิตอาหารเสริมเกสรเทียมเพื่อผึ้งพันธุ์: โครงการวิจัยที่สนับสนุนโดย วช. 2567


ดร.ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ
อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตร

โครงการผลิตอาหารเสริมเกสรเทียมเพื่อผึ้งพันธุ์ เป็นโครงการที่สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปี 2567 โดยมีการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาสูตรอาหารเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ให้มีความยั่งยืนและลดการพึ่งพาอาหารที่ได้จากธรรมชาติ โดยการผนวกการวิจัยเข้ากับเรียนการสอนเพื่อสร้างความรู้และการพัฒนาทักษะในภาคปฏิบัติให้แก่นิสิตหลักสูตรปริญญาตรีเทคโนโลยีการเกษตร (ทลบ.) คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีความโดดเด่นด้านการศึกษาแบบพหุวิทยาการซึ่งครอบคลุมหลายสาขาวิชา อีกทั้งโครงการนี้ยังได้บูรณาการความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ/นักวิจัยต่างประเทศ เพื่อให้นิสิตสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นและมุ่งเน้นการนำผลงานไปประยุกต์ใช้ในชุมชน โดยเฉพาะการให้บริการวิชาการในพื้นที่จังหวัดเพะเยา จังหวัดแพร่ และ เชียงใหม่ โดยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์

 

การให้นิสิตมีโอกาสร่วมกิจกรรมกับเกษตรกรทำให้พัฒนาทักษะในภาคปฏิบัติและเรียนรู้การทำงานร่วมกับหน่วยงานในชุมชน เช่นเดียวกับการทำงานวิจัยที่ต้องการผลสัมฤทธิ์ในเชิงสังคมและมีความสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (Program Learning Outcome, PLO) ที่เน้นการบูรณาการความรู้จากการเรียนในห้องเรียนสู่การวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาโครงการสู่ระดับนานาชาติโดยการให้นิสิตที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในระดับนานาชาติอันเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายหลักของหลักสูตร เช่น นายชินดนัย ชาญมณีเวช ตัวแทนนิสิต ทลบ. ปี 3 ได้มีโอกาสไปร่วมทำวิจัยระยะสั้นที่ National Chung Hsing University ไต้หวัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน (ตุลาคม 2566) รวมถึงการนำผลงานไปแสดงในงานประชุม 40th Annual Meeting of Apicultural Society of Korea (กุมภาพันธ์ 2567) ให้นิสิตมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการซึ่งเป็นเป้าหมายของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes, ELOs) ที่หลักสูตรต้องการสร้างในตัวนิสิตโดยมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น การมีชื่อนิสิต ได้แก่ นางสาววรกมล เรือลม และ นางสาวณัฐพร ก๊กตระกูล ทลบ.ปี 2 ในผลงานวิจัยที่อยู่ระหว่างการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ (SCOPUS Q2 และ Q3) ปี 2567 จำนวน 2 เรื่อง และยื่นคำขออนุสิทธิบัตรไปแล้ว 1 เรื่อง รวมไปถึงการที่ตัวแทนนิสิต นายโชควิวัฒน์ สิงห์ฤทธิ์ ทลบ.ปี 3 (หัวหน้าทีม) ได้นำผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาไปต่อยอดจนได้สูตรอาหารที่สามารถผลิตเป็นอาหารต้นทุนต่ำ ราคาเฉลี่ย 80 บาทต่อกิโลกรัม โภชนาการโปรตีนไม่ต่ำกว่า 10% น้ำตาลไม่ต่ำกว่า 30% และ ไขมันไม่ต่ำกว่า 5% เพื่อใช้เลี้ยงผึ้งพันธุ์ในช่วงขาดแคลนอาหาร พบว่า อาหารเสริมดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์และสามารถลดต้นทุนการใช้อาหารเสริมเชิงพาณิชย์ได้ถึง 24.87% และได้รับการรางวัลเหรียญเงินผ่านการแสดงผลงานนวัตกรรมในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)

  

ดังนั้นการพัฒนางานวิจัยและการให้บริการวิชาการผ่านการมีส่วนร่วมของนิสิตจากโครงการนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของหลักสูตรได้อย่างครบถ้วนทั้งในเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติ ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างนิสิตที่มีคุณภาพ พร้อมก้าวสู่การเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาภาคการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

       

เอกสารอ่านเพิ่มเติม บทความวิจัย และ กิจกรรมของนิสิต

  

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  คุกกี้