510 จำนวนผู้เข้าชม |
วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จัดโครงการ "ยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)" ณ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา นำโดย ผศ.ดร.วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก หัวหน้าโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการเกษตรกรรมยั่งยืนและพัฒนาอาชีพเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนกิจกรรมย่อย พร้อมบุคลากร จัดโครงการดังกล่าวฯ
ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณบดี ผศ.ดร.บุญฤทธิ์ สินค้างาม เปิดกิจกรรมและมอบปัจจัยการผลิตให้กับสมาชิกกลุ่มฯ โดยโครงการนี้มีหัวหน้าโครงการย่อย ดร.วาสนา พิทักษ์พล เป็นวิทยากร ได้พูดถึงการพัฒนาระบบการผลิตผักอินทรีย์และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักอินทรีย์ กระบวนการเตรียมดิน การทำปุ๋ยหมัก การเพาะกล้า การปลูกและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการวางแผนการตลาด
ผักอินทรีย์เป็นสินค้าที่ผู้ผลิตนํามาจําหน่ายในท้องตลาดเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคได้บริโภคผักที่ ปลอดภัยต่อสุขภาพ ถึงแม้ว่าผักอินทรีย์มีราคาสูงกว่าผักทั่ว ๆ ไป 20-30 เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม การผลิตผักอินทรีย์เป็น วิธีการปลูกผักที่มีขั้นตอนละเอียดกว่าการปลูกผักทั่วไป โดยผู้ผลิตต้องศึกษามาตรฐานการผลิตผักอินทรีย์เพื่อความ เข้าใจก่อนการปลูก พันธุ์ผักที่ใช้ปลูกต้องเป็นพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดีในท้องถิ่น ทนทานต่อโรคและแมลง เป็นที่ต้องการของตลาด และเหมาะสมสําหรับการปลูกเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ นอกจากนี้การปลูกผักอินทรีย์ต้องมีการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการใช้ระบบปลูกพืช วัสดุเหลือใช้ทาง การเกษตร จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ และวัสดุจากธรรมชาติ ป้องกันและกําจัดศัตรูพืชโดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ทุกชนิด หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีสังเคราะห์ และมีการแยกแยะผลผลิตให้แตกต่าง จากผักทั่วไปอย่างชัดเจน ซึ่งการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตผักอินทรีย์จะทําให้เกษตรกรได้ผลผลิตผักอินทรีย์ที่มี คุณภาพและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค